top of page

บวช

บวช รากศัพท์ภาษา ‘บาลี’ 

คือ

ปพฺพชฺชา - บรรพชา - บวช

วัตถุประสงค์ของการบวช

คือ

เว้นจากความชั่ว พ้นสิ่งผูกมัด

อันเป็นเหตุแห่งทุกข์  

การบวช

ฝึกหัด-ดัดตน-ขัดเกลา เยาวชนอย่างไร ?

ด้วยวิถีชีวิตของสามเณร ซึ่งเป็นเหล่าก่อหน่อเนื้อศาสนทายาท การเติบโตเป็นภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ อาศัยการฝึกหัดขัดเกลา ด้วยแบบอย่างตามพระภิกษุทั้งปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ทั้งรับฟังเพื่ออบรมกริยามารยาทและจิตใจ

วัด

แหล่งความรู้ อบรม ขัดเกลา เยาวชน

จากโบราณถึงปัจจุบัน 

 

วิถีแห่งความเรียบง่ายของภิกษุสงฆ์ 

คือแบบอย่างของการเริ่มต้นรู้จักตนเอง

สรรพความรู้ในพระพุทธศาสนา 

รวมถึงความรู้สาขาวิชาแขนงต่างๆ

ทั้งหมดเริ่มจากความเรียบง่าย 

พ้นเปลือกเข้าสู่แก่นแท้

พบตน พบทุกอย่าง 

รู้ตน รู้ทั้งหมด

ความเรียบง่ายนั้นดีที่สุด เพราะอะไร ?

การลด ละ สละ ไม่สะสม มีเพียงจีวรหม่กาย บาตรยังชีพ เป็นอยู่เรียบง่าย ไร้วัตถุปรุงแต่งฉาบทา ละเปลือก เร่งสงบ เพื่อพบตน เพราะสุขแท้ของจริงอยู่ภายใน เด็กน้อยในโลกกว้าง ท่ามกลางกระแสวัตถุนิยม จำเป็นต้องมีศีลธรรมคุณธรรมเป็นรากฐานจิตใจที่เข้มแข็ง รู้จักพิจารณา ใช้ปัญญา ดูแลตนได้ให้พ้นความเสื่อมเสี่ยง สมกับที่บิดามารดาผู้มีพระคุณถนุถนอมอบรมดูแลหวังให้ ดำเนินชีวิตบนหนทางสุจริตพึงควรเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง วงศ์ตระกูล สังคมประเทศ และเป็นพุทธศาสนทายาทให้พระศาสนาต่อไป โดยเริ่มเพียง ละอบาย ไม่ติดเปลือก เข้าถึงแก่นแท้ภายในจิตใจตน จุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่นำสู่ความสุขยิ่งใหญ่ไม่อาศัยสิ่งไม่ถาวรภายนอก

ร่วมกันนำพาเยาวชนท่ามกลางโลกวัตถุ

เข้าสู่ความเรียบง่าย เรียนรู้ ท่องโลกแห่งจิตใจ

พ้นเปลือก วัตถุ หากเมื่ออยู่กับวัตถุจะไม่หลง

ไม่เป็นทาส ไม่ติดกับดักวัตถุนิยม แต่อยู่อย่างรู้ทัน ใช้มันให้เป็นเมื่อต้องใช้ 

พัฒนาชาติเริ่มที่พัฒนาคน

พัฒนาคนเริ่มต้นที่พัฒนาจิต

ให้มีศีล สติ สมาธิ มีปัญญาบริสุทธิ์  

รักลูกให้ถูกทาง 

การบวชเรียนให้เกิดปัญญา แยกแยะดีชั่วเป็น เพื่อพ้นความเสื่อมเสี่ยงอบายได้พ้นทุกข์ คืออริยทรัพย์ทั้งระยะใกล้ไกลที่บิดามารดาพึงจัดหาให้ลูกหลาน

....................................................
bottom of page